วิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ wed blogวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนางสาวศิริลักษณ์ สุวนิชกุล

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

ประวัติและความสำคัญทางพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทย    พระพุทธศาสนานอกจากจะเป็นศาสนาประจำชาติไทย และเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยแล้วพระพุทธศาสนายังเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทยอีกด้วย จะเห็นได้จากวิถีชีวิตของคนไทยที่ผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนา ความคิดและกิจกรรมทุกด้านของชาติไทยล้วนผสมผสานอยู่ในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา    พระพุทธศาสนาได้หล่อหลอมจิตชีวิตจิตใจและลักษณะนิสัยของคนไทย ให้เป็นผู้ที่มีจิตใจร่าเริงเบิกบาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แสดงความเป็นมิตร ยินดีในการให้แบ่งปันให้ความช่วยเหลือ เป็นคนมีน้ำใจ อันเป็นลักษณะเด่นชัดที่ชนต่างชาติประทับใจ และตั้งสมญานามเมืองไทยว่า  “สยามเมืองยิ้ม"ภาษาไทยที่มีใช้อย่างสมบูรณ์ก็เพราะเราได้นำภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในพระพุทธศาสนามาใช้ด้วย ชื่อ จังหวัด เช่น ราชบุรี ธนบุรี เป็นต้น แม้แต่ชื่อสิ่งของที่ใช้ในปัจจุบันก็นิยมนำภาษาบาลีมาใช้ เช่นรถยนต์ เกษตรกรรม ชื่อคน วินัย วีรกรรม สุวรรณา เป็นต้น
    มารยาทในสังคมไทย ล้วนมีรากฐานมาจากหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา เช่น มารยาทในการทำความเคารพ มารยาทในการทักทายกัน มารยาทในการต้องรับแขกมารยาทในการรับประทานอาหาร มารยาทในห้องประชุม เป็นต้น  อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรูที่ 2

พุทธประวัติและชาดก

บทที่ 2 พุทธประวัติและชาดก

1.1 หลักการสอนของพระพุทธเจ้า
                พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงสอนใครแต่ละครั้ง พระองค์ก็ทรงอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่าง ในการสอนบุคคลระดับต่างๆ ที่มีพื้นฐานความรู้ สติปัญญาที่แตกต่างกัน พระองค์ได้ประยุกต์คำสอนแต่ละลักษณะให้มีความเหมาะสม เป็นการสอนที่แสดงถึงพุทธลีลา อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และ ศาสนพิธี

 1) วันมาฆบูชา
               วันมาฆบูชา คือ การบูชาในเดือนมาฆะ คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือการประชุมสงฆ์โดยมิได้นัดหมายกันที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ประกอบด้วยองค์ คือ 1. เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ 2. พระภิกษุ 1,250 องค์ มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย 3.ภิกษุเหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ 4. ได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้า เป็นเอหิภิกขุทั้งสิ้น
          ในวันนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม คือแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ วางหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธองค์ไว้ ประการ คือ 1. ไม่ทำความชั่ว 2. การทำบุญกุศลให้ถึงพร้อม และ 3. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
          หลักคำสอน ประการ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสไว้อย่างนี้ถือเป็นธรรมนูญของพระสงฆ์ใน การยึดถือปฏิบัติต่อไป
    2.) วันวิสาขบูชา
                    วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือนวิสาขะ คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน เป็นวันที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญมาบรรจบกัน คือ
          1. เป็นวันคล้ายวันประสูติของพระพุทธเจ้า ณ สวนลุมพินีวัน ประเทศอินเดีย
          2. เป็นวันตรัสรู้ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองราชคฤห์
          3. เป็นวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ณ สาละโนทยาน เมืองกุสินารา
          หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขบูชา เป็นเหตุการณ์ในวันตรัสรู้ ที่พระองค์ทรงพิจารณาอริยสัจ โดยละเอียด จนสามารถหมดกิเลสและอาสวะอย่างสิ้นเชิง หลักธรรมข้ออริยสัจ หรืออริยมรรคมีองค์ 8  อ่านเพิ่มเติม

        

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
พระรัตนตรัย คือแก้วอันประเสริฐ (ของชาวพุทธ) 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์พระพุทธ     คือ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตามพระธรรม     คือ  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าพระสงฆ์     คือ ผู้ปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติตาม
ความสำคัญของพระรัตนตรัย
      พระรัตนตรัยนอกจากจะเป็นแก้วอันประเสริฐของชาวพุทธแล้ว พระรัตนตรัยยังเป็นที่พึ่งที่ระลึกที่ดีที่สุดของชาวพุทธ ในชีวิตประจำวันของชาวพุทธจะเกี่ยวข้องกับพระรัตนตรัยอยู่เสมอ เช่น ตื่นนอนตอนเช้าสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย ก่อนไปทำงานนิยมไหว้พระก่อนออกจากบ้านเมื่อไปถึงที่ทำงานนิยมไหว้พระประจำสถานที่ทำงาน และไหว้พระรัตนตรัย ก่อนนอนทุกคืน นักเรียนก็เช่นเดียวกัน ก่อนเข้าเรียนหลังเคารพธงชาตินักเรียนจะต้องสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยก่อนเลิกเรียนก็สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย ก่อนนอนก็สวดมนต์ ดังนั้นพระรัตนตรัยจึงมีความสำคัญต่อชาวพุทธอย่างยิ่ง  อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต

พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก 
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก

          พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ
พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย 
พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท

         ในพระสูตรนี้ มิใช่ว่าจะมีแต่พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าเท่านั้นยังมีธรรมภาษิตของเทวดาผู้มาเฝ้าและสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าก็มีมีธรรมภาษิตของพระอรหันตสาวกและของพระอรหันตสาวิการวมอยู่ด้วย ฉะนั้น พระสูตรจึงประกอบด้วยอรรถรสและธรรมรสหลากหลาย ซึ่งเป็นมรดกทางปัญญาตกทอดมาแต่บรรพบุรุษผู้ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าและยึดถือเป็นหลักปฎิบัติในการดำรงชีวิตย่อมก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่ตนและแก่สังคมอย่างแท้จริง

พระสุตตันปิฎก แบ่งออกเป็น 5 นิกาย เ
รียกย่อว่า ที มะ สัง อัง ขุ ได้แก่
1. ทีนิยกาย ว่าด้วยสูตรหรือพระธรรมเทศนาขนาดยาว จำนวน 34 สูตร
2. มัชฌิมนิกาย ว่าด้วยสูตรหรือพระธรรมเทศนาขนาดปานกลาง จำนวน 152 สูตร
3. สังยุตตนิกาย ว่าด้วยสูตรหรือพระธรรมเทศนา ที่ประมวลข้อธรรมหรือเรื่องราวไว้เป็นพวก ๆ จำนวน 2,752 สูตร
4. อังคุดตรนิกาย ว่าด้วยสูตรหรือพระธรรมเทศนาที่จัดเป็นข้อ ๆ และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ 1 ข้อ 2 ข้อ เป็นต้น จำนวน 7,902 สูตร
5. ขุททกนิกาย ว่าด้วย สูตรหรือพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ มี 15 เรื่อง หรือ 15 หัวข้อใหญ่ บางข้อจัดเป็นสูตร บางข้อก็มิได้จัดเป็นสู   อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

การสวดมนต์แปลและ แผ่เมตตา
การไหว้พระสวดมนต์เป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตน ตรัยที่เราต้องปฏิบัติให้พร้อมทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อให้เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา ผู้ที่ปฏิบัติเป็นประจำจะเกิดสติสัมปชัญญะ มีจิตเป็นสมาธิ ประณีตและมีคุณธรรม ทำให้ความเห็นถูกต้องตามหลักของพระพุทธศาสนา
          ในขณะที่สวดมนต์ถือเป็นการ บริหารจิตและเจริญปัญญาเบื้องต้น จะทำให้มีสติและสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่กับปัจจุบันเสมอ การไหว้พระสวดมนต์ โดยมากนิยมทำในตอนเช้าและก่อนนอน หรือทำก่อนที่เราจะฝึกสมาธิซึ่งจะช่วยให้ผู้ฝึกจิตสงบ มีสมาธิ และระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย
ประโยชน์ของการสวดมนต์แผ่เมตตา
1. เป็นสุขทั้งยามหลับยามตื่น
2. ขณะหลับอยู่ไม่ฝันร้าย
3. สีหน้าสดชื่นผ่องใส เป็นที่รักของผู้พบเห็น
4. จิตมั่นคง ใจเป็นสมาธิตั้งมั่นได้เร็ว
5.เทวดาย่อมรักษาคุ้มครอง
          ประโยชน์ของการบริหารจิตและเจริญปัญญา
มนุษย์มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ร่าง กายและจิตใจ ในส่วนของร่างกายก็ทานอาหารที่ถูกหลักอนามัยและออกกำลังกายอยู่เสมอ จึงจะเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนจิตใจนั้นก็ต้องมีการเลี้ยงดูเหมือนกัน ถ้าจะให้จิตใจแข็งแรงก็ต้องมีการบริหารจิตใจ
การฝึกบริหารจิต เป็นการให้อาหารใจที่มีประสิทธิภาพ จิตใจที่ได้รับการฝึกสมาธิจะบริสุทธิ์สะอาด มีคุณธรรม มีความเข้มแข็ง มีความผ่อนคลาย สงบสุข ควรแก่การพัฒนาทางด้านปัญญา คือ การอ่าน การฟัง หรือการศึกษาหาความรู้ในสิ่งต่าง ๆ โดยคิดไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนจนเกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งที่เรียกว่า ปัญญา  อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชน

ระวัติพุทธสาวก ในบทนี้ ได้ศึกษา เรื่อง พระอานนท์ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระราหุล และพระเขมาเถรี เพื่อวัตถุประสงค์นำแนววิถีชีวิตการประพฤติปฏิบัติของท่านนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของศาสนิกชน
ระอานนท์

ประวัติ
พระอานนท์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่า กีสาโคตมี ท่านจึงเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า ท่านออกบวชพร้อมกับ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายภคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายเทวทัต กับนายภูษามาลา ชื่อว่า อุบาลี
หลังจากบวชแล้ว ท่านได้ฟังโอวาทของพระปุณณมันตานีบุตร ได้บรรลุโสดาปัตติผล และได้มารับหน้าที่ พุทธอุปัฏฐาก ปรนนิบัติพระพุทธเจ้า จนกระทั่งหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน จึงได้บรรลุพระอรหันตผล และท่านบรรลุพระอรหันตผลโดยไม่อยู่ในอริยบถ 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน นั่นคือ ท่านบรรลุพระอรหันตผลภายหลังจากที่ได้ปฏิบัติธรรมทั้งคืนขณะที่จะเอนกายลงนอนบนเตียง พอยกเท้าพ้นจากพื้นแต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน จิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย คลายความยึดมั่นลงได้
ในขณะที่พระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้แล้ว ไม่มีพุทธอุปัฏฐาก พระสงฆ์สาวกต่างก็ผลัดกันทำหน้าที่อยู่รับใช้พระพุทธเจ้า ต่อมาพระสงฆ์สาวกเห็นสมควรว่าจักต้องมีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมาทำหน้าที่นี้ และพระสงฆ์ทั้งหลายก็ขอร้องให้ท่านรับหน้าที่ พระอานนท์จึงขอพร (เงื่อนไข) 8 ประการต่อพระพุทธเจ้าก่อนรับหน้าที่พุทธอุปัฏฐาก ดังนี้  อ่านเพิ่มเติม