วิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ wed blogวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนางสาวศิริลักษณ์ สุวนิชกุล

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต

พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก 
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก

          พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ
พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย 
พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท

         ในพระสูตรนี้ มิใช่ว่าจะมีแต่พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าเท่านั้นยังมีธรรมภาษิตของเทวดาผู้มาเฝ้าและสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าก็มีมีธรรมภาษิตของพระอรหันตสาวกและของพระอรหันตสาวิการวมอยู่ด้วย ฉะนั้น พระสูตรจึงประกอบด้วยอรรถรสและธรรมรสหลากหลาย ซึ่งเป็นมรดกทางปัญญาตกทอดมาแต่บรรพบุรุษผู้ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าและยึดถือเป็นหลักปฎิบัติในการดำรงชีวิตย่อมก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่ตนและแก่สังคมอย่างแท้จริง

พระสุตตันปิฎก แบ่งออกเป็น 5 นิกาย เ
รียกย่อว่า ที มะ สัง อัง ขุ ได้แก่
1. ทีนิยกาย ว่าด้วยสูตรหรือพระธรรมเทศนาขนาดยาว จำนวน 34 สูตร
2. มัชฌิมนิกาย ว่าด้วยสูตรหรือพระธรรมเทศนาขนาดปานกลาง จำนวน 152 สูตร
3. สังยุตตนิกาย ว่าด้วยสูตรหรือพระธรรมเทศนา ที่ประมวลข้อธรรมหรือเรื่องราวไว้เป็นพวก ๆ จำนวน 2,752 สูตร
4. อังคุดตรนิกาย ว่าด้วยสูตรหรือพระธรรมเทศนาที่จัดเป็นข้อ ๆ และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ 1 ข้อ 2 ข้อ เป็นต้น จำนวน 7,902 สูตร
5. ขุททกนิกาย ว่าด้วย สูตรหรือพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ มี 15 เรื่อง หรือ 15 หัวข้อใหญ่ บางข้อจัดเป็นสูตร บางข้อก็มิได้จัดเป็นสู   อ่านเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น